Site stats พบสัตว์หน้าตาแปลกประหลาด สุดทึ่ง อย่างกับลูกครึ่งจิ้งเหลน และงู – Brain Berries

พบสัตว์หน้าตาแปลกประหลาด สุดทึ่ง อย่างกับลูกครึ่งจิ้งเหลน และงู

Advertisements

นี่มันตัวอะไรกันพี่น้อง ใช่มังกรตัวเล็กไหม? ไล่ไม่ยอมไป แถมขู่ ผมเพิ่งเคยเห็นเป็นครั้งแรก อยู่ริมห้วยของหลังหมู่บ้าน

ใต้โพสต์ดังกล่าวก็มีคนแห่เข้ามาแสดงความคิดเห็นกันเป็นจำนวนมาก ตัวอย่าง “เจ้าเซื่อเรื่องพญานาคบ่ อีคำแก้วมันเป็นงู” “ฮิโนกิ มาหาพญานาค” “จิ้งเหลนหางยาว” “งูผสมกับขี้โก๋” “แปลกมากไม่เคยเห็น” “น่าจะเป็นจิ้งเหลนที่กินงูเขียวเข้าไป” “พญานาคบ่ครับ” “ขอบ้านเลขที่แหน่ครับ” “จิ้งเหลนไฟตระกูลจิ้งเหลน”

บางคนก็แซวแรงว่าเป็นมังกรตัวน้อย หรือ ซาลาเกตหรือเปล่า (สัตว์โบราณ บรรพบุรุษของอนาคอนดา)

และในที่สุดก็มีคนหนึ่งเข้ามาเฉลยถึงสัตว์ดังกล่าวว่าเป็นชนิดใดกันแน่  สัตว์ดังกล่าวคือ งูคา สางห่า หรือ จิ้งเหลนน้อยหางยาว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Takydromus sexlineatus) เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่จัดอยู่ในอันดับ Squamata เช่นเดียวกับงู และกิ้งก่า จัดอยู่ในวงศ์จิ้งเหลนน้อยหางยาว (Lacertidae)

มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับจิ้งเหลนในวงศ์ Scincidae หรือจิ้งเหลนทั่วไป แต่มีขนาดลำตัวเรียวยาวเล็กกว่า มีจุดเด่นคือ หางที่ยาวเรียวประมาณ 5 เท่าของขนาดลำตัว เกล็ดปกคลุมลำตัวด้านหลัง โดยด้านท้องรูปร่างกลมและเรียบเป็นมัน เกล็ดเรียงซ้อนเหลื่อมกันรวมทั้งมีกระดูกในชั้นหนังรองรับโดยมีลักษณะจำเพาะคือ เกล็ดแต่ละแผ่นมีกระดูกในชั้นหนังหลายชิ้น มีเพดานปากแบบทุติยภูมิเจริญขึ้นมา กระดูกหัวไหล่มีกระดูกอินเตอร์คลาวิเคิลเป็นรูปโค้งหรือไม่มีกระดูกชิ้นนี้ และกระดูกไหปลาร้าเป็นรูปหักมุม หางค่อนข้างยาว หลายชนิดปล่อยหางหลุดจากลำตัวได้เหมือนเช่น จิ้งจก เพื่อเอาตัวรอดจากศัตรู โดยตำแหน่งที่ปล่อยหางอยู่ทางด้านหน้าของก้านกระดูกทางด้านข้างของก้านกระดูกทางด้านข้างของกระดูกสันหลังส่วนหาง พื้นผิวด้านบนของลิ้นเป็นตุ่มยาว ฟันที่ขากรรไกรเกาะติดกับร่องที่ขอบด้านในของกระดูกขากรรไกร กระดูกพเทอรีกอยด์มีฟัน (3) ลำตัวมีสีน้ำตาลหรือสีเทา หรือเทาอมเขียว ขาหน้าและขาหลังค่อนข้างยาว นิ้วตีนยาว นิ้วตีนทุกนิ้วมีเล็บ และตัวเล็บโค้งลงทางด้านล่าง ตัวผู้ที่ข้างลำตัวมีจุดกลมสีขาวอมเขียว 10–12 จุด

ความเชื่อ

สางห่า เป็นสัตว์ที่ชาวไทยที่ภาคอีสานมีความเชื่อว่ามีพิษร้ายแรง อาศัยอยู่ตามแอ่งน้ำหรือแอ่งน้ำในถ้ำ บ้างว่ามีพิษอยู่ที่เขี้ยว บ้างว่ามีพิษอยู่ที่เล็บ หรือมีพิษอยู่ที่หางที่ยาว จนเชื่อกันว่า หากใครถูกหางของสางห่าฟาดเข้าแล้วจะเกิดเป็นรอยแผลไหม้จนถึงแก่ความตายได้ หรือถูกหวาย หวายก็ไหม้ ขณะที่ทางแถบภาคกลางเชื่อว่า สางห่าเป็นงูขนาดเล็กชนิดหนึ่งที่มีขา อาศัยอยู่ตามยอดหญ้า พอหญ้าเหี่ยวเฉาก็จะย้ายไปหาหญ้าใหม่ ขณะที่บางท้องที่เชื่อว่า สางห่าเป็นคางคกป่าชนิดหนึ่ง และมีเสียงร้องคล้ายเสียงสุนัขเห่า แต่ความจริงแล้ว สางห่าไม่มีพิษ และไม่มีภัยอะไรต่อมนุษย์เลย ซึ่งจากความเชื่อนี้ ทำให้สางห่าได้ถูกอ้างอิงถึงในวรรณกรรมเรื่อง “เพชรพระอุมา” ของพนมเทียน เป็นสัตว์ประหลาดหรือธิดาของพญานาค

นอกจากนี้แล้ว สางห่ายังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น “งูคา”, “กิ้งก่าน้อยหางยาว” หรือ”กระห่าง”