Site stats 6 สาระสำคัญของพระราชกำหนดฉุกเฉินที่ทุกท่านควรทราบ – Brain Berries

6 สาระสำคัญของพระราชกำหนดฉุกเฉินที่ทุกท่านควรทราบ

Advertisements

เนื่องจากสถานการณ์ของการระบาดของโรคไวรัสโควิด 19 ที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น นอกเหนือจากนั้น จำนวนของผู้ติดเชื้อในประเทศไทย ก็ยังทวีคูณ และเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งสร้างความน่าตกใจไม่น้อย และเพื่อควบคุมสถานการณ์การติดเชื้อ ทางรัฐบาลจึงกำหนดให้วันที่ 26 มีนาคมเป็นต้นไป

และนี่เป็นอีกครั้ง ที่เราได้ยินคำว่า พระราชกำหนดฉุกเฉิน หลังจากที่คณะรักษาความสงบสุขแห่งชาติ หรือ คสช. ได้เคยนำออกมาใช้ เมื่อครั้งมีการรัฐประหาร เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ซึ่งครั้งนี้ เป็นครั้งแรก ที่ประเทศไทยได้นำพระราชกำหนดฉุกเฉินมาใช้ เนื่องจากการควบคุมโรคระบาด 

พระราชกำหนดฉุกเฉินคืออะไร

ก่อนที่เราจะไปทราบสาระสำคัญของ พรก. ฉุกเฉินฉบับนี้ ความหมายของ พระราชกำหนดฉุกเฉิน คือ เป็นกฎหมายอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งออกโดยพระมหากษัตริย์ ตามคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรี โดยระบุไว้ว่า เป็นตรากฎหมายที่ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่จำเป็นต้องใช้อย่างเร่งด่วน และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพื่อป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ และในกรณีที่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา จะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วน และอย่างเป็นความลับ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน

สาระสำคัญของพระราชกำหนดฉุกเฉินว่าด้วยการป้องกันโรคระบาดโควิด 19

ห้ามบุคคล ออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่

ซึ่งจะมีประกาศเรื่องรายละเอียดและเวลาที่กำหนดที่ชัดเจนออกมาอีกครั้งทั้งนี้รวมถึงการห้ามให้ประชาชนเข้าพื้นที่เสี่ยงที่เกิดจากมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 และรวมไปถึงสถานที่ที่ได้รับการพิจารณาจากผู้ว่าราชการจังหวัดอีกด้วย

ห้ามชุมนุม หรือมั่วสุม

เนื่องจากโรคระบาดจากเชื้อไวรัสโควิดเป็นเชื้อที่ติดต่อได้ง่ายมากดังนั้นการชุมนุมหรืออยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรค

ห้ามแพร่ข่าวที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิด

เนื่องจากการนำเสนอข่าวในปัจจุบันมีหลายช่องทางจึงเสี่ยงต่อการทำให้เกิดความสับสนและอาจทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิดสามารถส่งผลต่อการระบาดของโรคที่เพิ่มขึ้นได้

ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้บริการยานพาหนะสาธารณะเพราะเป็นการส่งเสริมทำให้เกิดการระบาดของโรคที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น

ห้ามการใช้อาคาร หรือเข้าไปหรืออยู่ในสถานที่ใดๆ

นอกเหนือจากการอยู่ในเคหสถานของตัวเองเพราะการที่ไปใช้บริการสถานที่ที่มีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมากเป็นการส่งเสริมให้เกิดการระบาดมากยิ่งขึ้น

ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชาชนดังกล่าว หรือห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่ที่กำหนด

เมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องอพยพประชาชนจากพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อเจ้าหน้าที่สามารถมีอำนาจในการลงมือปฏิบัติการได้ทันทีหรือห้ามมิให้ผู้ได้เข้าไปยังพื้นที่เสี่ยงหากฝ่าฝืนก็สามารถนำมาดำเนินคดีตามกฎหมายได้