Site stats 6 ศิลปวัฒนธรรมไทย ที่ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมต่างประเทศ – Brain Berries

6 ศิลปวัฒนธรรมไทย ที่ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมต่างประเทศ

Advertisements

ประเทศไทยของเราได้ถือกำเนิดเกิดขึ้นมานานแสนนานแล้ว โดยภาคส่วนต่าง ๆ ของประเทศไทยก็มีอายุที่แตกต่างกันไป และกว่าที่เราจะรวบรวมขึ้นเป็นประเทศได้นั้นก็เกิดจากการสะสม และรวบรวมเอาวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน หลอมรวมกับภูมิปัญญา แล้วก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมไทยเกิดขึ้น และในวันนี้พวกเรามีเรื่องราวของ 6 ศิลปวัฒนธรรมไทย ที่ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมต่างประเทศ

1. ปราสาทหินต่างทางฝั่งภาคตะวันออกของไทย

ปราสาทหินต่าง ๆ ที่อยู่ทางฝั่งภาคตะวันออกของไทย ไม่ว่าจะเป็น ปราสาทหินพนมรุ้งอันเลื่องชื่อ และปราสาทหินของวัด  ต่าง ๆ ที่มีสถาปัตยกรรมคล้าย ๆ กัน แม้ว่าจะประดิษฐานอยู่ในประเทศไทย แต่แท้จริงแล้วเป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับมาจากเขมรโดยตรง โดยเชื่อกันว่า กษัตริย์ของเขมร และกษัตริย์แห่งลุ่มน้ำสุวรรณภูมินั้นเป็นเครือญาติกัน ทำให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมระหว่างกันตลอดเวลา

2. ขนมทองหยิบทองหยอดฝอยทอง

ขนมไทยที่เลื่องชื่อทั้งสามชนิดนี้ โดยพวกเราอาจจะทราบกันว่าท้าวทองกีบม้าเป็นผู้คิดค้นขึ้น ซึ่งท้าวทองกีบม้าเป็นภรรยาของพระยาวิไชยเยนต์ในรัชสมัยของพระนารายณ์มหาราช เธอเป็นผู้ที่มีเชื้อสายญี่ปุ่น-โปรตุเกส ซึ่งขนมทั้งสามชนิดนี้เป็นการประยุกต์เอาวิธีการทำขนมของโปรตุเกส ที่ใช้ไข่เป็นส่วนผสมมาทำเป็นของหวาน เพราะในสมัยก่อนเราจะไม่ใช้ไข่ในการทำอาหารหวาน 

3. การแสดงโขน

เรามักจะใช้การแสดงโขนในการเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยอยู่บ่อยครั้ง และเชื่อได้ว่าหลาย ๆ คนก็คงคิดว่าการแสดงโขนเป็นศิลปะของไทย แต่แท้ที่จริงแล้วการแสดงโขนนั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องรามเกียรติ์ เป็นเรื่องที่ถูกแต่งขึ้นโดยศิลปินชาวอินเดีย โดยที่มีชื่อเดิมว่า รามายณะ

4. ภาษาไทย

ภาษาไทยของเรานั้นไม่ได้มาจากการประดิษฐ์ภาษาไทยขึ้นจากคนไทยแต่ดั้งเดิม แต่จริง ๆ แล้ว ภาษาไทยนั้นเป็นการนำเอาอักษรจากภาษาต่าง ๆ มาประยุกต์ ไม่ว่าจะเป็นบาลี สันสกฤต เขมร และในบางคำศัพท์ก็เป็นคำที่เรายกเอามาจากทั้งภาษาต่างประเทศเลย

5. อาหารพื้นบ้าน

อาหารประจำชาติ หรืออาหารพื้นบ้านในแต่ละภาคของประเทศไทย ล้วนแต่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงแทบทั้งสิ้นเช่น น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล ที่เป็นอาหารพื้นบ้านของทางเหนือ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากประเทศพม่า แกงใต้ของภาคใต้ได้รับอิทธพลมาจากฝั่งมาเลเซีย อาหารอีสานก็ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศลาว และแม้กระทั่งเมนูห่อหมกที่เรารับประทานกันทั่วไป ก็เป็นอาหารประจำชาติของประเทศกัมพูชา

6. การแต่งกาย

การแต่งกายของไทยในแต่ละยุค เป็นเครื่องบ่งบอกได้ชัดว่าชาติใดมีบทบาทสำคัญในยุคนั้น ตัวอย่างเช่น ในช่วงปลายของ  กรุงศรีอยุธยา เรื่อยมาจนถึงรัชกาลที่ 4 ชนชั้นปกครองของไทยจะมีการใส่ชฎา สวมชุดครุยยาว ซึ่งนั่นเป็นอิทธิพลของชาวเปอร์เซีย ในรัชกาลที่ 5 และ 6 ชนชั้นปกครองฝ่ายหญิงจะมีการสวมใส่เสื้อแขนพองที่ได้รับอิทธิพลมาจากทางอังกฤษ เป็นต้น