Site stats 6 สิ่งในชีวิตประจำวันที่เคยถูกผู้คนเกลียด – Brain Berries

6 สิ่งในชีวิตประจำวันที่เคยถูกผู้คนเกลียด

Advertisements

คุณรู้หรือไม่ว่าการที่คนสมัยใหม่กลัวกับอาหารที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs) หรือรถยนต์ที่ขับได้เองโดยอัตโนมัติแค่ไหน ซึ่งทุกๆงานประดิษฐ์ใหม่ๆนั้น ย่อมถูกมองว่าเป็นสิ่งที่แปลก, อันตราย หรือแสนวิเศษในช่วงแรกได้ ซึ่งจะต้องใช้เวลา เพื่อให้ผู้คนคุ้นชิน และรู้สึกว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นเรื่องปกติ และเมื่อเราย้อนไปดูในอดีต ซึ่งมันยากที่จะเข้าใจว่าพวกเขาคิดอย่างไรกันบ้าง ลองตามไปดูกัน

1. รถยนต์

ทุกวันนี้เราไม่สามารถจะจินตนาการภาพของชีวิตเราได้เลย หากปราศจากรถยนต์ แต่เมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้วผู้คนต่างก็เกลียดเครื่องยนต์ที่มีเสียงดังและส่งกลิ่นเหม็น แม้ว่าม้าจะช้ากว่ามาก แต่มันก็ควบคุมได้ดีกว่า ซึ่งรถยนต์รุ่นแรกๆนั้น ผู้คนจึงหวาดกลัวที่จะใช้มาก และอย่างไรก็ตามในสมัยก่อนนั้น ถนนมีไว้สำหรับให้ผู้คนได้เดิน แต่หลังจากนั้น ถนนหนทางต่างๆก็ถูกรถยนต์เข้ามาจับจอง ใช้สอยพื้นที่ถนนเพิ่มขึ้น และผู้คนก็มีความหวาดกลัวที่จะใช้รถยนต์น้อยลง พูดง่ายๆก็คือ ในยุคแรกๆของการใช้รถยนต์นั้น ผู้คนแตกตื่นเป็นอย่างมาก ซึ่งนอกเหนือจากเสียงเครื่องยนต์ที่ดัง แล้ว ก็ยังมีกฏแปลกๆออกมาคือ ผู้ขับขี่ต้องบีบแตร เพื่อเป็นสัญญาณบอกผู้คนว่ารถของคุณอยู่ที่นี่ ในปี ค.ศ. 1925 อุบัติเหตุจากรถยนต์มีจำนวน 65 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนเคสอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในอเมริกา และหลังจากนั้นก็มีแนวคิดที่ว่า มันคงจะดี หากคนบินได้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการคิดค้นการผลิตเครื่องบินเจ็ตลำแรกขึ้น

2. รูปติดพาสปอร์ต

คุณอาจเคยมีคำถามว่า ผู้คนใช้อะไรในการยืนยันตัวตน ในยุคก่อนที่จะมีภาพถ่ายเกิดขึ้น ซึ่งเราไม่เคยแม้แต่จะสงสัยเลยสักนิด แต่คำตอบก็คือ ข้อมูลทางกายภาพของบุคคล ซึ่งในสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รัฐบาลอังกฤษได้เคยออกคำสั่งยกเลิกการติดรูปถ่ายในพาสปอร์ต และหลังจากนั้น ทางราชการก็พบว่า เหล่าสายลับจากประเทศฝั่งตรงกันข้ามได้เข้าออกประเทศอังกฤษอย่างตามใจชอบ และเมื่อรัฐบาลตระหนักได้ว่าต้องมีการเปลี่ยนกฏนี้ ซึ่งแทนที่ว่าจะตัดบางอย่างออก แต่ทางรัฐบาลอังกฤษก็ได้ออกกฏให้มีการติดรูปถ่ายลงในพาสปอร์ตด้วย

3. โรคแห่งความคิดถึง

สิ่งที่เราเรียกว่า “ความคิดถึง” ในปัจจุบันนั้น ในสมัยก่อน ถือว่าเป็นโรคป่วยทางจิต ซึ่งคุณจะเห็นได้จากช่วงสงครามต่างๆ การคิดถึงบ้าน หรือครอบครัวนั้น เป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้ในหมู่ทหาร ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขาอ่อนแอและไม่มีกะจิตกะใจในการสู้รบ ซึ่งบางครั้งก็ถูกเรียกว่า “การเจ็บป่วยสวิส” หรือ “โรคทางจิตของเหล่าผู้อพยพ” แต่ในที่สุด มันไม่ใช่ความรู้สึกที่ดี ซึ่งการรักษาโรคแห่งความคิดถึงนี้ แพทย์ชาวฝรั่งเศสได้แนะนำว่า ให้รักษาด้วยความเจ็บปวดและความหวาดกลัว

4. ภาพยนตร์ที่มีเสียง

ในปัจจุบัน ภาพยนตร์ที่ไม่สีเสียงดนตรี หรือบทพูด คงจะไม่ได้รับความนิยมเลย แต่เมื่อย้อนกลับไปเมื่อช่วงปี ค.ศ. 1920 นั้น ภาพยนตร์เสียงนั้นเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก ตัวละครแต่ละตัวแสดงบทบาทผ่านยังท่าทาง และทำไมเราถึงอยากจะได้ยินในสิ่งที่เหล่านักแสดงในภาพยนตร์พูดล่ะ ในเมื่อพวกเขาสามารถถ่ายทอดผ่านทางแอคติ้งและการแสดงสีหน้าได้ ซึ่งนักแสดงรุ่นใหญ่ คลาร่า โบว์ ได้เคยกล่าวไว้ว่า เธอเกลียดภาพยนตร์ที่มีเสียงพูด เพราะมันดูหยาบกระด้าง และดูเหมือนถูกจำกัดขอบเขต ซึ่งเอาจริงๆแล้ว ไมโครโฟนยุคก่อนมันใหญ่มหึมามาก

5. สุนัขนำทาง

ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เหล่าทหารผ่านศึกทั้งหลายถูกทิ้งให้อยู่กับความพิการ และความยากลำบาก และเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้พวกเขาอยู่ในสังคมปกติได้ แพทย์ได้เสนอไอเดียในการก่อตั้งโรงเรียนฝึกสุนัขขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าผู้คนต่างเห็นด้วยกับไอเดียนี้ เพราะใครล่ะจะไม่อยากให้สุนัขแสนรักของพวกเขาได้รับการดูแลที่พิเศษ แต่แล้วก็พบว่า มีการทำร้ายสุนัข เพื่อทำให้พวกเขาเชื่อง ซึ่งถ้าไม่เกี่ยวว่าเป็นโครงการที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ของเจ้าของและสัตว์เลี้ยงแล้วนั้น ผู้คนในสมัยนั้นคงจะต่อต้านเป็นอย่างมากแน่นอน

6. มันฝรั่ง

และสุดท้าย แต่ไม่ท้ายสุด พวกเรามีก้อนสิ่งสกปรกแปลก ๆ ที่ผู้คนเรียกว่ามันฝรั่ง หัวมันฝรั่งนี้มาถึงยุโรปจากอเมริกา ดังนั้นโดยธรรมชาติแล้วผู้คนไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ในตอนแรกมันฝรั่งถูกมองว่าเป็นสิ่งที่กินไม่ได้และเหมาะสำหรับเลี้ยงวัวเท่านั้น จนกระทั่งวันหนึ่ง นาย Antoine-Augustin Parmentier ก็ชักจูงให้ผู้คนเห็นประโยชน์ของมันฝรั่ง ตัวอย่างเช่น เขาปลูกพืชหัวใต้ดินนี้ อยู่นอกกรุงปารีสและบอกเจ้าหน้าที่ติดอาวุธให้ลาดตระเวนในพื้นที่เป็นเวลาสองสามวัน เมื่อเจ้าหน้าที่เผลอ ก็พบว่ามันฝรั่งถูกขโมยไปแทบทุกครั้ง ซึ่งมันแสดงให้เห็นว่า ผู้คนที่หิวโหยเหล่านั้น มองเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ซึ่งซุปมันฝรั่งนั้น มันต้องดีกว่าการต้มน้ำร้อนเปล่าๆแน่นอน